บทความ

น้ำตกตาดยาว ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายน์ จังหวัดกาฬสินธุ์!!!

รูปภาพ
  น้ำตกตาดยาว      ที่ตั้ง       อยู่ในพื้นที่บ้านโคกโก่ง ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายน์ จังหวัดกาฬสินธุ์     การเดินทาง         เดินทางจากอำเภอกุฉินารายณ์ ไปตามถนนหมายเลข 2042 ประมาณ 12 กิโลเมตร ถึงบ้านนาไคร้ เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร เดินเท้าเข้าไป 700 เมตร     ลักษณะเด่นของแหล่ง     ในเวลาช่วงหน้าฝนบริเวณลานน้ำตกเป็นจุดที่มีนักท่องเที่ยวมาเล่นสไลด์เดอร์น้ำตก เป็นจุดที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง และบริเวณข้างเคียงยังมีหมู่บ้านโฮมสเตย์โคกโก่ง หมู่บ้านวัฒนธรรมภูไท     ธรณีวิทยา       ลักษณะเป็นหน้าผาหินทราย ประกอบด้วยหินทรายเนื้อควอตซ์ สีขาว ขนาดเม็ดตะกอนละเอียดถึงปานกลาง การคัดขนาดดี ความมนดี การเชื่อมประสานดี เนื้อแน่นแข็ง แสดงการวางชั้นเฉียงระดับ อยู่ในหมวดหินพระวิหาร น้ำตกจะไหลในแนวการวางตัวของชั้นหิน ทิศทางแนว dip angle 80 องศา/ dip direction 123 องศา บริเวณใกล้เคียงพบ sandcrack ซึ่งแสดงถึงลักษณะทางธรณีวิทยาที่หินทรายเกิดการคายความร้อนและหดตัวในขนะที่หินทรายยังไม่แข็งตัว

จุดชมวิวผาระแงง อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์ !!!

รูปภาพ
    น้ำตกผาระแงง      ที่ตั้ง        อยู่บริเวณบ้านชาด ตำบลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์      การเดินทาง           จากอำเภอนาคู เดินทางไปยัง บ้านชาด แล้วเลี้ยวขวาวิ่งขึ้นเขาไปบ้านโคกกลาง โดยระยะทางจากบ้านชาด ถึงตัวน้ำตก ประมาณ 8 กม. ทางแยกจากทางหลวงมุ่งสู่น้ำตกจะลาดยางประมาณ 500 เมตร ต่อด้วยทางดินประมาณ 2 กิโลเมตร       ลักษณะเด่นของแหล่ง         เป็นหน้าผาหินทรายที่มีกุมภลักษณ์อยู่ตรงบริเวณหน้าผา มีความโดดเด่นเป็นอย่างมากอีกทั้งเป็นจุดชมวิวเขื่อนที่สวยงามเป็นอย่างยิ่ง และยังมีน้ำตกเล็กๆอยู่ข้างๆ มีความชันของหน้าผาสูง ซึ่งชื่อของผาระแงงแก้งมื้นมาจากภาษาภูไทคือแก้งมื้นแปลว่าลื่น        ธรณีวิทยา         พื้นที่ประกอบด้วยหินทรายสีเทา สีเทาขาว สีแดงอมม่วงและเทาอมม่วง เม็ดตะกอนละเอียดถึงปานกลาง การคัดขนาดไม่ดี สลับหินทรายแป้งและหินโคลน สีน้ำตาลแกมแดงเนื้อไมก้า มีชั้นเม็ดปูนและชั้นซิลิกา อยู่ในหมวดหินภูกระดึง ผาระแงงเป็นหน้าผาของเทือกเขาภูพานที่เกิดจากการชนและมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกทำให้เกิดเป็นหน้าผาสูงโดดเด่น จุดเด่นที่สำคัญที่สุดคือ พบกุมภลักษณ์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 40 เซนติเมตร ลึก

วัดพุทธนิมิต (ภูค่าว) อยู่บนยอดเขาภูค่าว จ.กาฬสินธุ์

รูปภาพ
  วัดพุทธนิมิต ภูค่าว     ข้อมูลทั่วไป        วัด พุทธนิมิต (ภูค่าว) อยู่บนยอดเขาภูค่าว บริเวณยอดเขาด้านทิศตะวันตกมี "พระพุทธไสยาสน์" แกะสลักบนแผ่นผาอายุนับพันปี ลักษณะตะแคงซ้าย พระเศียรหนุนทับต้นแขน โดยท่อนแขนที่หนุนพระเศียรไม่ได้ตั้งขึ้นและพระหัตถ์ไม่ได้รองรับพระเศียรไม่มีเกตุมาลา ความยาวตลอดองค์พระ 2 เมตร สูง 0.5 เมตร มีทองคำเปลวปิดอยู่ทั่วองค์ สันนิษฐานว่าเป็นพระโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า ทางวัดจัดให้มีงานสรงน้ำพระพุทธรูปไสยาสน์ในวันที่ 19 เมษายน ของทุกปี ตำนานท้องถิ่นเล่าว่า พระพุทธไสยาสน์ที่สลักบนแผ่นผานี้ สร้างขึ้นหลังการสมโภชองค์พระธาตุพนมเล็กน้อย ประมาณปี พ.ศ. 8 โดยกลุ่มคนที่จะเดินทางไปร่วมสร้างพระธาตุพนม แต่ไปไม่ทัน องค์พระธาตุพนมสร้างเสร็จก่อน จึงร่วมกันสร้างพระพุทธไสยาสน์องค์นี้ เมื่อปี พ.ศ. 2484 พระคุณเจ้าสมเด็จพระมหาวีระวงศ์ได้ขึ้นไปตรวจสังฆมณฑลภาคอีสาน และแวะจำวัดในเมืองสหัสขันธ์ ซึ่งอยู่ห่างจากภูค่าวไปทางตะวันตกราว 8 กิโลเมตร ในครั้งนั้นท่านได้ไปนมัสการพระพุทธไสยาสน์ที่เพิงผานี้ด้วย เมื่อเสร็จสังฆกิจเสด็จกลับกรุงเทพฯ จึงบัญชาให้อธิบดีกรมศิลปา

อ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน ต.สงเปลือย อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์

รูปภาพ
อ่างเก็บน้ำวังคำ         พระราชดำริ      -พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว        แนวพระราชดำริ        เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้   พระราชทานพระราชดำริให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำพะยัง และขยายระบบส่งน้ำของอ่างเก็บน้ำลำพะยังพร้อมทั้งให้พิจารณาขุดสระน้ำประจำไร่นาตามแนวทฤษฎีใหม่        และเมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ซึ่งอยู่ทางฟากจังหวัดมุกดาหารมาเติมให้แก่ อ่างเก็บน้ำลำพะยังเพื่อขยายพื้นที่รับน้ำชลประทานได้มากขึ้น ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติม สรุปความว่าให้รีบดำเนินการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่มายังพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำลำพะยัง และให้พิจารณาดูว่าพื้นที่ที่จะส่งน้ำออกจากอุโมงค์ว่ามีพื้นที่ว่างหรือไม่ ให้ดำเนินการปลูกป่าโดยทำเป็นอุทยานเล็กๆ เพื่อทดแทนผลกระทบที่จะเกิดกับป่าไม้ เพราะหากไม่ดำเนินการช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่นั้น ราษฎรก็จะบุกรุกป่าและทำลายพื้นที่ลุ่มน้ำ ๑ เอ จนหมดและน้ำที่ออกมาก็ให้พิจารณาว่าจะนำไปช่วยพื้นที่ลุ่มน้ำ

แหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นในจังหวัดกาฬสินธุ์ ไปชมกันเลยยยยยย

รูปภาพ
  พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว          ประวัติ         เดิมคือศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติงานศึกษาวิจัย อนุรักษ์เก็บรวบรวมตัวอย่างอ้างอิงซากไดโนเสาร์และ สัตว์ร่วมสมัยและนำข้อมูลเหล่านี้ไปเผยแพร่แก่นักท่องเที่ยวในรูปของพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ มีความเป็นมาและรายละเอียดของการจัดการ ตั้งแต่ปี 2521 คณะสำรวจธรณีวิทยา โดยนายวราวุธ สุธีธร พบซากกระดูกไดโนเสาร์ที่เก็บไว้โดย พระครูวิจิตรสหัสคุณ เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ปี พ.ศ. 2537  ปี 2538 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาทอดพระเนตรซากกระดูกไดโนเสาร์ จัดตั้งโครงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าวขึ้น โดยสร้างอาคารหลุมขุดค้นเป็นการชั่วคราวเพื่อใช้ป้องกันซากกระดูก รวมทั้งใช้บังร่มเงาแก่นักวิชาการในการขุดแต่งกระดูก ปี 2539 กรมทรัพยากรธรณีสร้างอาคารวิจัยมีพื้นที่ใช้งาน 375 ตารางเมตร เพื่อเป็นสถานที่ทำการอนุรักษ์ ศึกษาวิจัยและเก็บรวมรวมซากดึกดำบรรพ์ที่สำรวจพบในประเทศไทย           ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ที่ภูกุ้มข้าว พบโดยพระครูวิจิตรสหัสคุณ เจ้า

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ จังหวัดกาฬสินธุ์!!!

รูปภาพ
  พระธาตุยาคู               ประวัติ     พระธาตุยาคู หรือ พระธาตุใหญ่ ตั้งอยู่ที่บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณเมืองฟ้าแดดสงยาง ลักษณะเจดีย์เป็นทรงแปดเหลี่ยมก่อด้วยอิฐปรากฏหลักฐานการก่อสร้าง 3 สมัยด้วยกัน คือ               - ส่วนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีบันไดทางขึ้น 4 ทิศ มีปูนปั้นประดับ สร้างในสมัยทวารวดี               - ส่วนฐานแปดเหลี่ยม สร้างซ้อนทับบนฐานเดิมเป็นรูปแบบเจดีย์สมัยอยุธยา               - ส่วนองค์ระฆังและส่วนยอด สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์               รอบๆ องค์พระธาตุพบใบเสมาแกะสลักภาพนูนต่ำเป็นเรื่องพระพุทธประวัติ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ จังหวัดกาฬสินธุ์!!!

รูปภาพ
สะพานเทพสุดา              ประวัติ                สะพานเทพสุดา ตั้งอยู่บริเวณแหลมโนนวิเศษ ต.โนนบุรี อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 สร้างเสร็จในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ถือเป็นสะพานข้ามน้ำจืดที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ชื่อของสะพานแห่งนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ในขณะนั้น) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสะพานเทพสุดาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554          สะพานแห่งนี้มีลักษณะเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 2 ช่องจราจร ความยาว 2,040 เมตร สร้างอยู่เหนือเขื่อนลำปาว โดยเชื่อมระหว่างแหลมโนนวิเศษ ต.โนนบุรี อ.สหัสขันธ์ กับบริเวณเกาะมหาราช ต.หนองบัว อ.หนองกุงศรี สะพานเทพสุดาเป็นโครงข่ายเชื่อมเส้นทางคมนาคมขนส่งจาก จังหวัดหนองคาย อุดรธานี ผ่านจังหวัดกาฬสินธุ์ ไปยังจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งเป็นประตูสู่อินโดจีนหรืออีสต์เวสต์อีโคโนมิก คอริดอร์ โดยช่วยร่นระยะทางในการขนส่งผลผลิตทางการเกษตรได้กว่า 100 กิโลเมตร       บนสะพานเทพสุดายังส